บทความ/เอกสารวิชาการ

ดนตรีบำบัดในการผ่าตัดสลายต้อกระจก (Music Therapy)

8 ส.ค. 2562
3

ดนตรีบำบัดในการผ่าตัดสลายต้อกระจก (Music Therapy)

         โดยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

         การผ่าตัดสลายต้อกระจกในปัจจุบันมักพบว่า ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเรื่องการผ่าตัด ซึ่งไม่ได้ใช้การดมยาสลบ เพราะต้องการให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวตลอดเวลาเพื่อตอบสนองระหว่างการรักษา การใช้ดนตรีบำบัดสามารถช่วยผ่อนคลายความกังวลของผู้ป่วยได้ ดังนั้นทีมงานจึงดำเนินการศึกษาวิจัยการใช้ดนตรีบำบัดสำหรับลดความวิตกกังวลและความเจ็บปวดในระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกขึ้นโดยเฉพาะ

         ทั้งนี้ ศูนย์ต้อกระจกธรรมศาสตร์นำนวัตกรรมนี้มาใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2559 ประกอบด้วย 4 บทเพลงซึ่งประพันธ์โดยแพทย์ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ใช้จังหวะบีทอยู่ที่ 80-100 bpm เปิดด้วยความดัง 80-100 เดซิเบล ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน American Music Therapy โดยเปิดก่อนทำการรักษา 15 นาที ระหว่างการผ่าตัดและหลังจากการผ่าตัด ผลการรักษาของทางศูนย์ฯ สามารถรักษาผู้ป่วยได้เฉลี่ยอยู่ที่ 10-20 คนต่อวัน 200-300 คนต่อเดือน และรักษาผู้ป่วยตั้งแต่เปิดศูนย์มาแล้วกว่า 3,000 คน

         นอกจากนี้ จากติดตามโดยสอบถามผู้ป่วยด้วยแบบประเมินความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์ State-Trait Anxiety Inventory (STAI) ซึ่งเป็นแบบประเมินความวิตกกังวลด้วยตัวเองที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และ Pain score ซึ่งใช้ Numerical rating scale (NRS) เพื่อประเมินความเจ็บปวด ทั้งก่อนและหลังทำต้อกระจก พบว่า ช่วยคลายความกังวลให้แก่ผู้ป่วยระหว่างทำการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี รวมทั้งได้รับการตีพิมพ์เป็นผลงานวิชาการและได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยว่าสามารถนำมาใช้ได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่วงการจักษุวิทยาทั้งในระดับชาติและนานาชาติอีกด้วย

Facebook : บทความ ดนตรีบำบัดในการผ่าตัดสลายต้อกระจก (Music Therapy)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า