บทความ/เอกสารวิชาการ

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ ตอน : การลงพื้นที่ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทรางวัลเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance) ของกรมควบคุมโรค

8 มิ.ย. 2562
2

         สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริม สนับสนุนให้ส่วนราชการระดับกรม/เทียบเท่า และจังหวัดดำเนินการให้มีการส่งเสริมและยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งติดตามประเมินผลหน่วยงานที่สมัครขอรับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562 ตามเกณฑ์การประเมิน โดยลงพื้นที่ตรวจประเมินระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2562

          คณะตรวจประเมินรางวัลฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทรางวัลเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance) ของกรมควบคุมโรค 

           กรมควบคุมโรค มีนโยบาย ทิศทาง การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่ให้ความสำคัญกับประชาชนและการพัฒนาความร่วมมือด้านการป้องกันควบคุมโรคกับภาคีเครือข่ายการทำงานของกรมฯ ผู้บริหารถ่ายทอดนโยบายและทิศทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ไปยังบุคลากรขององค์กรรวมทั้งเครือข่าย ผ่านการจัดประชุมทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างวัฒนธรรม วิธีการปฏิบัติงาน ที่มีค่านิยม MOPH และค่านิยมการใส่ใจประชาชน (People Center) ที่เน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Originality) โดยเปิดระบบ เปิดใจ (Open Governance Open Mind) ที่มีกลไกการจัดการข้อมูล แล้วสื่อสารและรับข้อมูลกลับ จากการสื่อสารความเสี่ยงและกระบวนการสร้างการรับรู้ ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรู้เท่าทันโรค (Health Literacy) เริ่มจากการเปิดระบบราชการ โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ สื่อมวลชนแขนงต่างๆ สื่อออนไลน์ สื่อบุคคล เป็นต้น โดยมีการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น 1) ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง 2) สื่อมวลชน 3) เครือข่าย เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กรมควบคุมโรคได้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคและสุขภาพไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค เช่น คนรุ่นใหม่ กลุ่มเปราะบาง (ชายรักชาย แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขังในเรือนจำ) เป็นต้น

          ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ยังมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำ DDC Poll โรคและภัยสุขภาพ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 เป็นต้น โดยนำความคิดเห็นของประชาชนที่ได้ มาปรับปรุงระบบและกระบวนการบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง กรมควบคุมได้มีการพัฒนานวัตกรรมบริการประชาชนในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนและแจ้งข้อมูล/ร้องเรียน/ร้องทุกข์ ผ่าน Application : กดดูรู้โรค Application : ทันระบาด Application : TAS (ร้องเรียนปัญหาเรื่องเหล้า-บุหรี่) เป็นต้น รวมถึงจัดทำระบบฐานข้อมูล และการเชื่อมโยงหรือการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น การจัดทำข้อมูล 3 ฐาน สำหรับผู้เสียชีวิตอุบัติเหตุทางถนน ระหว่างกรมควบคุมโรค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ เป็นต้น

        ความสำเร็จจากการเปิดระบบราชการของกรมควบคุมโรค ที่ตอบสนองต่อ ความต้องการของประชาชน ได้สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน สะท้อนถึงความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขของประเทศ ที่ทุกคนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหาโรค/ภัยสุขภาพของประเทศอย่างแท้จริง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า