บทความ/เอกสารวิชาการ

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ ตอน : การลงพื้นที่ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทรางวัลสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) ผลงาน“การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในระบบนิเวศ 3 น้ำ แพรกหนามแดง” ของกรมชลประทาน

22 พ.ค. 2562
1

         สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริม สนับสนุนให้ส่วนราชการระดับกรม/เทียบเท่า และจังหวัดดำเนินการให้มีการส่งเสริมและยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งติดตามประเมินผลหน่วยงานที่สมัครขอรับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562 ตามเกณฑ์การประเมิน โดยลงพื้นที่ตรวจประเมินระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2562 

           คณะตรวจประเมินรางวัลฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทรางวัลสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) ผลงาน

“การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในระบบนิเวศ 3 น้ำ แพรกหนามแดง” ของกรมชลประทาน 

           ชุมชนแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นชุมชนหนึ่งที่มีความหลากหลายของระบบนิเวศธรรมชาติ ประกอบด้วยพื้นที่น้ำจืด พื้นที่น้ำกร่อย และพื้นที่น้ำเค็ม แต่เนื่องจากการที่มีสภาพระบบนิเวศ 3 น้ำ (น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม) จึงทำให้มีน้ำเค็มหนุนเข้ามาในพื้นที่ ในอดีตชาวชุมชนใช้วิธีสร้างทำนบคันดินกั้นน้ำเค็มเพื่อทำนาปลูกข้าว ต่อมาปัญหาน้ำเค็มหนุนรุนแรงยิ่งขึ้น ชาวบ้านในพื้นที่จึงนำความเดือดร้อนไปร้องเรียนหน่วยงานราชการ กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างประตูกั้นน้ำจืด–น้ำเค็ม จำนวน 15 ประตู แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ กลับกลายเป็นการแบ่งแยกฝั่งพื้นที่น้ำจืดและน้ำเค็มออกจากกัน ประกอบกับเมื่อมีการตัดถนนพระราม 2 ความเจริญได้นำโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาสู่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการปล่อยน้ำเสียลงคลองต่าง ๆ เมื่อเปิด–ปิดประตูระบายน้ำ จึงทำให้พื้นที่ ฝั่งน้ำเค็มได้รับความเสียหายจากน้ำเสียที่ปล่อยลงคลอง ส่งผลให้สัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงไว้ตายลงเป็นจำนวนมาก และพื้นที่เกษตรกรรมฝั่งน้ำจืดได้รับผลกระทบจากการที่มีน้ำเค็มรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ การเปิด-ปิดประตูระบายน้ำจึงทำให้เกิดปัญหาการขัดแย้งของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหาโดยภาครัฐเพียงอย่างเดียว ไม่ประสบความสำเร็จ…จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง…เพื่อแก้ไขปัญหาระบบนิเวศ  3 น้ำ ลดความขัดแย้งของผู้ใช้น้ำในชุมชน และแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โครงการชลประทานสมุทรสงคราม และกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน รวมใจพัฒนาเมืองสามน้ำแพรกหนามแดง จึงได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยได้ปรับกระบวนทัศน์การทำงานของเจ้าหน้าที่ในการนำการมีส่วนร่วม มาทำงานร่วมกับชุมชน โดยนำรูปแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเข้ามาทำกระบวนการ จนสามารถค้นหาวิธีบริหารจัดการน้ำร่วมกันในพื้นที่ และลดปัญหาความขัดแย้งของคนภายในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เกิดนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำในระบบนิเวศ 3 น้ำ ด้วยบานประตูระบายน้ำแบบบานหับเผย ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนได้เข้ามาร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และการร่วมรับผลประโยชน์ โดยชุมชนได้รวมตัวจัดกลุ่มอย่างเป็นทางการ มีกฎเกณฑ์ในการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดโดยชุมชน เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง รักษาผลประโยชน์ของชุมชน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) ตลอดจนสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบและขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้ส่งผลให้คนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า