การประชุมคณะทำงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความซื่อตรงในภาครัฐ (The Working Party of Senior Public Integrity Officials: SPIO)

แชร์หน้านี้



          นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ร่วมงานประชุมนานาชาติ 2019 International Reform Policy Symposium and Regional Workshop ภายใต้หัวข้อ การยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐในภูมิภาคอาเซียน ระหว่างวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2562 ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย 

          โดยการประชุมดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย

          1. การปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้าง การปฏิรูปรัฐ (State) โดยยึดหลักการธรรมาภิบาลเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนการทำงานของรัฐ เและการปฏิรูปกฎ ระเบียบ โดยออกแบบกฎ ระเบียบให้เอื้อต่อการเสริมสร้างนวัตกรรมในภาครัฐ มุ่งเน้นการแข่งขันให้ก้าวทันบริบทโลกที่มีความเป็นพลวัตร

          2. ภาพในอนาคตของธรรมภิบาลจะเกี่ยวข้องกับดิจิทัล และยุคข่าวสารความรู้

          3. ประโยชน์ของการมาเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะช่วยให้รัฐบาลของอาเซียนสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการดำเนินการ และยังเป็นการช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารประเทศภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          4. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ควรให้ความสำคัญกับกระบวนการให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อจะได้ทราบผลการดำเนินงาน และสามารถนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

          5. ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของกรณีศึกษา เวียดนาม มีการนำระบบ IT เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น เริ่มตั้งแต่ การคัดสรร การสอบคัดเลือก ซึ่งนำมาใช้ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ซึ่งช่วยก่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน และเพิ่มคุณภาพของงานให้สูงขึ้น ในขณะที่ การบริหารทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา ประเทศไทย (โครงการ นปร) ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมฯ เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะได้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในระบบราชการ และเป็นการพลิกโฉมวัฒนธรรมในการทำงานของภาครัฐ

          6. การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล กรณีศึกษา สาธารณรัฐเกาหลี ได้รับการขนานนามว่าเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศ ที่สามารถลดการทำงานในรูปแบบ silo ลงไปได้อย่างสิ้นเชิง รัฐบาลนำประโยชน์ของ Big Data มาใช้ในการกำหนดนโยบายการบริหารประเทศและพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ 

          ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น การนำประโยชน์ของ Big Data เพื่อออกนโยบายจัดให้บริการขนส่งสาธารณะแก่ประชาชน, ระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น

          ข้อสังเกต ความสำเร็จของรัฐบาลเกาหลีในการนำประโยชน์ของดิจิทัลมาใช้ในการจัดให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ในระยะยาวเพื่อกำหนดเป้าหมายในอนาคตที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น

          7. ความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรณีศึกษา ประเทศไทย ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เข้าร่วมประชุมฯ เพราะนับเป็น first publication in region ซึ่งอินโดนีเซียให้ความสนใจและจะเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาระบบ (System) ในการเสริมสร้างความซื่อตรงในภาครัฐมีประสิทธิภาพ เช่น การแบ่งบทบาทที่ชัดเจนให้หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช versus ปปท)

          กรณีศึกษา อินโดนีเซีย พบว่า รัฐบาลอินโดนีเซียมีความพยายามในการกำหนด Integrity Zone ขึ้น โดยตัวขับเคลื่อนหลักของพยายามของรัฐบาลคือ The use of Technology (เช่น งานบริการด้าน ตม. ทำให้งานบริการมีความรวดเร็ว สะดวก และโปร่งใส) และปลูกฝังวัฒนธรรมเพื่อสร้างให้เกิดการทำงานที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของประชาชน

          8. การปฏิรูปการบริหารงานท้องถิ่น ต้องสร้างให้ท้องถิ่นมีศักยภาพที่จะบริหารตนเองได้ ดังนั้น Capacity Building เป็นสิ่งสำคัญ พร้อมกันนี้ การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการคู่ขนานกันไป




โชติมา (กองนวัตกรรมการบริหารภาครัฐ) /ข่าว&ภาพ
ภัทรพร (สลธ.) /รายงาน
กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ