สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมรับฟังความเห็นจากผู้ประกอบการภาคเอกชน เรื่อง การพัฒนางานบริการภาครัฐด้านการท่องเที่ยว

แชร์หน้านี้

         เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมรับฟังความเห็นจากผู้ประกอบการภาคเอกชน เรื่อง การพัฒนางานบริการภาครัฐด้านการท่องเที่ยว ณ ห้อง Somerset ballroom ชั้น 5 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ โดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข (รองเลขาธิการ ก.พ.ร.) เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงที่มาของการพัฒนาโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) และได้มีการนำเสนอโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐด้านการท่องเที่ยว นำโดยทีมที่ปรึกษาจาก GovLab และดร.โชติมา สงวนพันธุ์ เวชพร ผู้อำนวยการกลุ่มกลุ่มพัฒนานวัตกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กองนวัตกรรมการบริหารภาครัฐ จากการประชุมมีการนำเสนอกระบวนการ Design Thinking ซึ่งมี 5 ขั้นตอน (เข้าใจ ตั้งโจทย์ ระดมความคิด สร้างแบบจำลอง และทดสอบ) เพื่อการจัดทำต้นแบบนวัตกรรม ซึ่งจากการระดมความคิดพบว่ามีต้นแบบนวัตกรรม 3 ต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่
         1)Job Order Application โดยมีฟังก์ชั่นที่กำลังพัฒนาได้แก่ แอพพลิเคชั่นสำหรับมัคคุเทศก์ และเว็บไซต์สำหรับผู้ประกอบการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ โดยกรมการท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในการนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมมัคคุเทศก์ ธุรกิจนำเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวได้

         2) Learning Platform สำหรับการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้ง่าย และมีเนื้อหาที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์

         3) Online registration system เป็นการจัดทำ Web Application สำหรับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ออนไลน์ 
โดยมีฟังก์ชั่นที่กำลังพัฒนาเพิ่มด้านการจัดทำฐานข้อมูลในระบบลงทะเบียน เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ว่าธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยวอย่างถูกต้อง และเชื่อมโยงข้อมูลกรมการปกครอง และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งเป็นโครงการที่กรมการท่องเที่ยวกำลังพัฒนาอยู่แล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จึงไม่ทำเรื่องนี้ในโครงการ GovLab

         จากการประชุมหารือ พบว่ามีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้

         ด้านการพัฒนาระบบออนไลน์

         - การพัฒนาระบบออนไลน์ ควรออกแบบเพิ่มเติมให้มี User friendly Interface และควรเพิ่มเติมระบบลงทะเบียนในรูปแบบ single sign on ในการเข้าระบบออนไลน์ทั้งด้าน Job Order และ

         ด้าน Job Matching

         - นอกจากการพัฒนาในรูปแบบออนไลน์จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานระบบทั้งมัคคุเทศก์ และผู้ประกอบการ ควรมีการสร้างการรับรู้ให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจ

         - หากมีการพัฒนาระบบ Job Order ในรูปแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับมัคคุเทศก์ ควรออกแบบให้เหมาะสมกับกฎหมายมัคคุเทศก์ด้วย เชื่อมโยงที่มาที่ไป ออกแบบระบบออนไลน์ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานทุกวัย และควรพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของ
การตรวจสุขภาพด้วยในการออกใบมัคคุเทศก์ตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่ที่ออกใหม่ในการต่อใบอนุญาต

         - ในระบบ Job Order ควรให้สิทธิของมัคคุเทศก์ในการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบการจดทะเบียนในรูปแบบบุคคลธรรมดา แต่ต้องอยู่ในการควบคุมของบริษัทในการแจ้งต้นสังกัดให้ทราบข้อมูล เพื่อเอื้ออำนวยต่อบริษัทต้นสังกัดในการส่งต่อถึงระบบประกันในต่างประเทศ

         ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ ต้องมีการรับทราบข้อมูล และส่งต่อข้อมูลให้ต้นสังกัด

         - ระบบ Online Learning Platform สำหรับการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์ ควรเพิ่มข้อมูลสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับมัคคุเทศก์

         ด้านกฎหมาย

         - ยกร่างระเบียบข้อกฎหมายด้านมัคคุเทศก์ให้เหมาะสมกับการพัฒนาระบบ เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลระบบมัคคุเทศก์กับข้อมูล ตม ในส่วนของที่พัก และข้อมูลตำรวจท่องเที่ยว หรือการจับกุมมัคคุเทศก์ที่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศไทย

         - การบูรณาการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งด้านภาครัฐ ภาคเอกชน เช่น จัดตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละจุดได้ตรงประเด็น



กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ