ทีมวิจัยจากธนาคารโลก พร้อมด้วยนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร.และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสที่มาเก็บข้อมูลจากส่วนราชการ เพื่อเตรียมจัดอันดับความยาก – ง่าย ในประกอบธุรกิจ (Doing Business) ในประเทศไทย

แชร์หน้านี้

         
          เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2562 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ทีมวิจัยจากธนาคารโลกนำโดย Ms.Birgit Hansl , Country Manager และคณะ พร้อมด้วยนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร.และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสที่มาเก็บข้อมูลจากส่วนราชการ เพื่อเตรียมจัดอันดับความยาก – ง่าย ในประกอบธุรกิจ (Doing Business) ในประเทศไทย

          ทั้งนี้ สามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้ 

          รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ Top 20 สำหรับอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย โดยรัฐบาลได้พยายามผลักดันในหลายสิ่ง โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย อาทิ Draft the New Business Security Act, Bankruptcy Law, Digitalization ใน Business Area เพื่อที่จะ speed up process สำหรับกบหมายหลักประกันทางธุรกิจ ขณะนี้ กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการ

          ผลของการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของไทย จะประกาศประมาณเดือนตุลาคม ธนาคารโลกเชื่อมั่นว่าจุดแข็งของประเทศไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะความพยายามของรัฐบาลจะช่วยยกระดับให้อันดับดีขึ้น รวมทั้งนโยบายด้าน Digital Economy ธนาคารโลกยินดีที่จะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลในทุกๆด้าน

          ข้อสังเกตจากธนาคารโลก เพื่อการพัฒนาปรับปรุงของประเทศไทย คือ a) การดำเนินการของภาครัฐที่มุ่งเน้น Digitalization (สำหรับภาครัฐ และ ภาคเอกชน) และ b) การสื่อสาร ให้คำแนะนำแก่ภาคธุรกิจให้รับทราบ

          นอกจากนี้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้หยิบยกประเด็นเรื่องการศึกษา ว่าเป็นมิติหลักที่จะสร้างให้เกิดการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งอาจจะไม่ได้ตรงกับความสนใจของธนาคารโลกในประเด็นเรื่อง Ease of Doing Business มากนัก อย่างไรก็ดี ความร่วมมือกับธนาคารโลกในด้านการศึกษาจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการพัฒนาประเทศ


กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ