การส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาครัฐระบบเปิด (Open Government Partnership: OGP)

แชร์หน้านี้

ตอน : กิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ครั้งที่ 2         

        
         สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ จัดกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2562 ณ Innovation Playground มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผู้เข้าร่วมเป็นคนรุ่นใหม่ จากนักศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ จำนวนกว่า 70 คน มาระดมความคิดเห็น ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล และพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ ที่ใช้เวลาติดต่อกัน 24 ชั่วโมง ซึ่งต้นแบบที่ได้ จะนำไปใช้ในการพัฒนางานบริการภาครัฐให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น 11 ผลงาน ดังนี้

          1. ทีม HELP TO TIME : พัฒนา website เพื่อแจ้งสถานะของคิวผู้ป่วยแต่ละคน แบบ realtime ด้วยการคำนวณจากจำนวนแพทย์ และคิวก่อนหน้า เพื่อแจ้งให้ทราบจำนวนคิวที่จะถึง ตลอดจน มีการแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงคิว ทำให้การรอคิวในโรงพยาบาลรวดเร็วขึ้น

          2. ทีมเสรี USE : พัฒนา website ติดตามผลของเรื่องร้องทุกข์ ของสำนักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดนครราชสีมา ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ และผู้ร้องเรียน สามารถติดตามสถานะของข้อร้องเรียนได้

          3. ทีม Easy AD Tax : พัฒนา Application AD Tax ซึ่งเป็น platform ข้อมูลป้ายของภาคเอกชน ในการตรวจสอบข้อมูลป้ายของตัวเอง และมีระบบแจ้งเตือน 30 วันก่อนถึงเวลากำหนดชำระภาษี ตลอดจนสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้สะดวกแก่การบริหารจัดการงานให้มีประสิทธิภาพ

          4. ทีม FAST To : พัฒนา Application ที่รับเรื่องร้องเรียนผ่าน social media โดยการส่งรูปเข้าระบบ ซึ่งมีการระบุพิกัดอัตโนมัติ หลังจากนั้นระบบจะส่งเรื่องไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ AI เข้ามาใช้จำแนกว่าเกี่ยวกับหน่วยงานใด ในพื้นที่รับผิดชอบของใคร นอกจากนี้ ยังมีระบบยืนยันตัวตน แต่เวลาโชว์หน้า Application จะโชว์นามแฝง ในขณะเดียวกัน ระบบจะทำการจัดลำดับปัญหาที่ได้รับความสนใจของสมาชิก และแสดงใน Application

          5. ทีม Unpracticed : พัฒนา model ห้องจัดเก็บเอกสาร ที่ระบุว่ามีการนำเอกสารเข้าออกอย่างไร และสามารถค้นหาเอกสาร โดยหาเอกสารในระบบ และมีไฟแสดงว่าเอกสารอยู่ที่ใด เพื่อให้การจัดเก็บโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดินอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้สามารถลดระยะเวลาในการให้บริการ

          6. ทีม EASY HACK : พัฒนาระบบ Easy Hack ในการชำระค่าผ่านทาง ด้วยการติดตั้งเซนเซอร์ไว้ที่ด่านชำระเงินโดยไม่ต้องมีไม้กั้น เพื่อจับทะเบียนรถและหักเงินค่าผ่านทางกับบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ ซึ่งเป็นการช่วยให้การไหลของรถเร็วขึ้น อีกทั้งข้อมูลที่ได้จะเป็นหลักฐานให้แก่ตำรวจในกรณีที่มีการโจรกรรมรถแล้วใช้ทางด่วนอีกด้วย

          7. ทีม Fight To The Future : พัฒนา Application CheckDoc ที่ใช้ในการตรวจสอบตารางของแพทย์ เพื่อนัดจองคิวแพทย์ล่วงหน้า นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าจะรับยาที่โรงพยาบาล ซึ่งต้องรอคอยหรือจะเลือกรับ QR code ที่เป็นใบสั่งยาไปรับยาที่ร้านเภสัชกรรมใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการ

          8. ทีม Undefined : พัฒนาระบบยืนยันตัวตนแบบออนไลน์ โดยให้ผู้สมัคร เข้าไปยืนยันครั้งแรกครั้งเดียว ที่หน่วยงานราชการใดก็ได้ เมื่อต้องการทำธุรกรรมในครั้งถัดไป ก็สามารถนำ QR Code ที่ generate เป็นการเฉพาะ แสดงต่อหน่วยงานที่จะดำเนินการ สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาเอกสารสำหรับผู้มอบอำนาจ

           9. ทีม IR : พัฒนา Application Smart Doc เพื่อช่วยให้การจัดเก็บเอกสารของสำนักงานที่ดิน โดยการระบุพิกัดของเอกสาร และระบุสถานะของเอกสาร เพื่อให้สามารถหาเอกสารได้ง่าย ลดปัญหาการสูญหายของเอกสาร และการเก็บเอกสารผิดที่

          10. ทีม Fighter MAE : จัดทำ Chat Bot ผ่าน Application Line ในการส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และเป็นช่องทางรับข้อมูลที่สำคัญ เพื่อเตือนเกษตรกรในกลุ่ม และให้ส่วนราชการมีแนวทางในการรับมือับภัยต่าง ๆได้ นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์ให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน ที่ update อยู่เสมอ

          11. ทีม IOTree : พัฒนาและติดตั้งเซนเซอร์ในการติดตามสภาพของป่าแบบ realtime (ความชื้น ความสมบูรณ์ ควัน และไฟป่า) โดยจะมีการส่งสัญญาณผ่านระบบ และแจ้งเตือนในไลน์ และระบบของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน


กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ