นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เข้าร่วมกิจกรรม “สื่อสารงานรัฐ พัฒนางานข่าว สร้างความเข้าใจให้ประชาชน”

แชร์หน้านี้

         
         เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เข้าร่วมกิจกรรม “สื่อสารงานรัฐ พัฒนางานข่าว สร้างความเข้าใจให้ประชาชน” จัดโดยกรมประชาสัมพันธ์ ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

         วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน ได้รับรู้และเข้าใจแนวทางการดำเนินงานภายใต้นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 รวมทั้งรับทราบแนวปฏิบัติต่อการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ (ID IA IR Chat)

         ประเด็นโดยสรุป ดังนี้

         - บทบาทหน้าที่โฆษกกระทรวง และแนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

         - บทบาทหน้าที่ของโฆษกกระทรวง

           • มีหน้าที่ขับเคลื่อนแผนประชาสัมพันธ์ในการสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้เป็นรูปธรรม
           • มีหน้าที่ชี้แจงแถลงข่าว โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการด้วยตนเองเสมอไป แต่ยังคงสามารถบริหารจัดการข่าวได้

         - สิ่งที่รัฐบาลมุ่งหวังจากโฆษกกระทรวง

           • M: Messenger เป็นผู้ส่งข่าวสารให้สื่อมวลชนไปเผยแพร่ต่อ
           • R: Reporter เป็นผู้รายงานข่าวให้กับสื่อมวลชน และประชาชนได้
           • O: Organizer เป็นผู้จัดการให้มีการแจ้งข่าว ซึ่งโฆษกไม่จำเป็นต้องกระทำเอง สามารถให้ผู้ที่ปฏิบัติงานมาแจ้งหรือแถลงข่าวได้
           • A: Administrator เป็นผู้ที่รู้จัก เข้าใจ ใช้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆได้ รวมถึง Application ที่ใช้สื่อสารในปัจจุบัน

         - แนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ

           • การสื่อสารด้านการข่าวของภาครัฐจะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม
           • ควรมีการวางแผนประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า 1 ปี โดยคาดการณ์จากเทศกาล ความต้องการของประชาชน หรือผลงานของหน่วยงานที่จะนำเสนอในแต่ละช่วงเดือน
           • หน่วยงานรัฐควรบูรณาการการทำงานเพื่อสื่อสารหรือแถลงข่าวในการชี้แจง Fake news เพื่อให้ความจริงปรากฏชัดเจน

         - การสื่อสารงานรัฐ พัฒนางานข่าว โดย อาจารย์เสรี วงษ์มณฑา

           คุณสมบัติและความสามารถที่โฆษกจะต้องมี

           • Content Creation สามารถสร้างเรื่องราวที่นำเสนอได้อย่างน่าสนใจ (What to say and How to say) และการทำให้เห็นภาพ (Visualization)
           • Communication Strategy เลือกผู้นำเสนอให้น่าสนใจและน่าเชื่อถือ อาจมีการใช้ Influencer รวมทั้งสื่อสารผ่านช่องทางที่เป็น Omni Channel และการบูรณาการช่องทางต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
           • Technology ต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน รู้จักสื่อใหม่ ๆ

         - 4 ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์

          • Push Strategy เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ โดยจะต้องหาความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ
          • Pull Strategy เป็นการขอความร่วมมือจากประชาชน เช่น เมาไม่ขับ ขับไม่โทร
          • Profile Strategy เป็นการแนะนำองค์กรของตนเองให้คนอื่นรู้จัก
          • Pass Strategy เป็นการให้ประชาชนยอมรับในกิจกรรมที่ภาครัฐทำ และไม่มีการต่อต้าน

         เมื่อนำทั้ง 4 ยุทธศาสตร์มาจัดเป็นหมวดหมู่ จะได้ 4 ฟังก์ชันหลัก คือ

         1. Proactive PR การประชาสัมพันธ์เชิงรุก เป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า และเตรียมความพร้อม หรือการอธิบายเหตุผลล่วงหน้า เพื่อลดการต่อต้าน หรือถูกตำหนิจากประชาชน
         2. Reactive เป็นการชี้แจงหรือแถลงการณ์ในภายหลังเมื่อถูกประชาชนโจมตีแล้ว ลักษณะเช่นนี้ไม่ควรให้เกิดขึ้น ดังนั้นควรทำงานแบบ Proactive PR
         3. Offensive PR เป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานภาครัฐที่ทำได้ดีให้ประชาชนรับรู้
         4. Defensive PR หากภาครัฐทำตามอำนาจ หน้าที่ และความชอบธรรม มีสิทธิ์ที่จะสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบ

         - แนวทางการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ 2021 โดย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
         - การถ่ายทอดแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ไปสู่การปฏิบัติ ควรมีการจัดทำแผนสื่อสารประจำปี
         - ทุกกระทรวงร่วมรายงานประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ผ่านช่องทาง ID IA IR Chat ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
         - ในปีนี้จะเพิ่มเติมประเด็นความมั่นคงชายแดนใต้ในการรายงาน ซึ่งจะประชาสัมพันธ์โดยใช้หลักความต้องการของประชาชน
         - ปัจจุบันเป็นโลกแห่งการสื่อสาร ภาครัฐมีหน้าที่สร้างการรับรู้ให้ประชาชน และชี้ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ในงานภาครัฐ
         - Fake news เป็นภัยร้ายที่เข้ามาเปลี่ยนบริบทของการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องร่วมกันสอดส่อง
         - ชี้แจงแนวทางการสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน (ID IA IR Chat) โดยสำนักโฆษก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงาน ก.พ.ร.
         - ID Chat (Issue Discussion) กำหนดประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ โดยกรมประชาสัมพันธ์และสำนักโฆษก เวลา 09.30 น. หลังจากนั้นจะส่งประเด็นไปยัง IA Chat
         - IA Chat (Issue Assignment) ประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์จะถูกส่งมายัง IA Chat ภายในเวลา 10.30 น. โดยสมาชิกรับทราบประเด็นที่เกี่ยวข้อง และหาข้อมูลเพื่อชี้แจง
         - IR Chat (Issue Report) ตอบประเด็นภายในเวลาที่กำหนด โดยจะมีเวลาชี้แจง คือ 24 ชั่วโมง, 3 วัน, 5 วัน และ 7 วัน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป โดยจะต้องส่งหลักฐานการชี้แจงภายใน 2 วัน หลังรายงานใน IR Chat ผ่านช่องทาง Spokesman@prd.go.th ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ใช้ในการชี้แจงมีผลต่อการประเมินคะแนนชี้แจงร่วมด้วย
         - สำหรับการประเมินตัวชี้วัดในประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ นางศิริเนตร กล้าหาญ ผู้อำนวยการกองติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างสำนักงาน ก.พ. และ สำนักงาน ก.พ.ร. ที่จะดำเนินการประเมินผู้บริหารองค์การเข้ากับการประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคลของสำนักงาน ก.พ. หากได้รับมอบหมายให้มีการชี้แจงประเด็นสำคัญเร่งด่วน ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือในการหาแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนมากขึ้น


กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ