ข่าวสาร ก.พ.ร.

โคราชเมือง 3 มรดกโลก ยูเนสโกรับรองเป็น Global Geopark

11 ก.ค. 2566
0

พฤษภาคม 2566 UNESCO รับรอง Khorat Geopark จังหวัดนครราชสีมาเป็น Global Geopark แห่งที่ 2 ของประเทศไทย (แห่งแรกจังหวัดสตูล) และเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎทางธรรมชาติ (The UNESCO Triple Crown of Nature) หรือเมือง 3 มรดกโลก (The UNESCO Triple Heritage City) ด้วยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ และพื้นที่อุทยานธรณีโคราช

อุทยานธรณีโคราช (Khorat Geopark) มีขอบเขตอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองตอนกลางถึงตอนล่าง ครอบคลุม 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองฯ และ อ.เฉลิมพระเกียรติ เชื่อมโยงกับระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และวิถีชีวิตผู้คนกว่า 4,000 ปี

จังหวัดนครราชสีมา ได้มุ่งยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-based Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ (Geotourism) เพื่อเป็น “อุทยานธรณีโลก” ของยูเนสโก (UNESCO)

ในปี 2565 ได้ดำเนินการใน 4 เรื่อง เพื่อรองรับการเป็น Global Geopark ของ UNESCO ประกอบด้วย

  1. จัดทำฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์
  2. จัดทำเส้นทางท่องเที่ยว โปรแกรมท่องเที่ยว และสื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ YouTube : Khorat Geotourism Official , Website : khoratgeoparkguide ฯลฯ
  3. ยกระดับชุมชนท่องเที่ยวจนได้รับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 2 ชุมชน และมาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety & Health Administration) 6 ชุมชน
  4. จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว        

“เที่ยวโคราช เที่ยวสนุก สุขใจ ได้ความรู้ เคียงคู่ชุมชน”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า