โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการของส่วนราชการที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และเพื่อให้ทราบถึงบทบาท การบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม จึงได้คัดเลือกข้าวหอมมะลิเป็นพืชต้นแบบของการศึกษาตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยได้ดำเนินการลงพื้นที่เข้าสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความคิดเห็นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อนำมาพัฒนาเป็นร่าง Thai Model
ในการประชุมระดมความคิดเห็นครั้งนี้เป็นการรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานจากกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม กรมการพัฒนาชุมชน กรมอุตุนิยมวิทยา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก
โดยสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
– ควรเพิ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน Value Chain และรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่ยังไม่ได้เข้าสัมภาษณ์ เพื่อ Thai Model มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ปลายน้ำเพิ่มกรมการท่องเที่ยว กรมทรัพย์สินทางปัญญา กลางน้ำเพิ่ม ธกส. แลกรมส่งเสริมสหกรณ์ และต้นน้ำเพิ่มองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
– Value Chain ยังขาดความเชื่อมโยง ระหว่าง ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
– ควรกำหนด out put และผลลัพธ์สุดท้ายของ Thai Model ว่าทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร มีอะไรกลับไปสู่ เกษตรกรบ้าง
– ควรมี Pilot Project เพื่อทดลองว่า Thai Model มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ฯลฯ
ทั้งนี้ ประเด็นข้อสังเกตข้อเสนอแนะ จะได้นำไปทวนสอบข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขร่าง Thai Model อันจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอการปรับบทบาท ภารกิจ โครงสร้าง และระบบการบริหารงาน (Transformation Plan) ของส่วนราชการเป้าหมาย ต่อไป
กลุ่มประชาสัมพันธ์ (กองยุทธศาสตร์ฯ) /จัดทำ