โดยรองนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้ทุกคณะมุ่งเน้นการคิดสิ่งใหม่ให้กับระบบราชการ นำระบบดิจิทัลหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ให้ง่ายขึ้น (Easier) รวดเร็วขึ้น (Faster) และมีค่าใช้จ่ายถูกลง (Cheaper) เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น
ซึ่งการที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนาสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) การทบทวนและแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรค เพื่อสนับสนุนการเป็นรัฐบาลดิจิทัลและราชการระบบเปิด (Open Government) รวมทั้งต้องสื่อสารกับประชาชนเพื่อสร้างการรับรู้ ให้เข้ามาใช้บริการภาครัฐที่ รวมถึงแจ้งปัญหา/อุปสรรคที่พบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาบริการภาครัฐให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน และควรจะต้องสื่อสารในภาคราชการด้วยกันเอง เพื่อให้นำนโยบายรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรีไปขับเคลื่อนการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพต่อไป
จากนั้นประธาน อ.ก.พ.ร. ทั้ง 12 คณะ ได้นำเสนอกรอบแนวทางการพัฒนาระบบราชการในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนวทางการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่
1. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต โดยท่านสุวิทย์ เมษินทรีย์
2. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการ โดยท่านทศพร ศิริสัมพันธ์
3. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยท่านวรากรณ์ สามโกเศศ
4. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ โดยท่านธงทอง จันทรางศุ
5. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล โดยท่านรื่นวดี สุวรรณมงคล
6. อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform) โดยท่านกอบศักดิ์ ภูตระกูล
7. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม โดยท่านบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
8. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยท่านไมตรี อินทุสุต
9. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ โดยท่านปรัชญา เวสารัชช์
10. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการเงินและงบประมาณ โดยท่านสุทธิรัตน์ รัตนโชติ
11. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยท่านปกรณ์ นิลประพันธ์
12. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและยกระดับการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการและการประกอบธุรกิจ โดยเลขาธิการ ก.พ.ร.
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้รายงานสรุปประเด็นจากการสัมมนาต่อ ก.พ.ร. และ อ.ก.พ.ร. ต่อไป
กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ