ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมหารือ เรื่อง “การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window)” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

10 มิ.ย. 2564
0
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 เวลา 9.30 น. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุมหารือ เรื่อง “การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window)” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานการประชุม นายณัฏฐา พาชัยยุทธ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล และนายจักกฤช อุเทนสุต ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าส่งออกและโลจิสติกส์ (กบช.) กรมศุลกากร ร่วมชี้แจงและนำเสนอ พร้อมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 135 คน จาก 31 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุมหารือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหารือแนวทางการพัฒนาระบบ NSW ซึ่งจะช่วยยกระดับ Doing Business ด้านการค้าระหว่างประเทศ และการดำเนินการตามข้อเสนอ Ten for Ten ในการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรการค้าผ่านแดนทางบกสู่ระบบดิจิทัลให้เป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุมหารือ ดังนี้

1. แนวทางการพัฒนาระบบ NSW ให้เป็นระบบการให้บริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Fully digital)

– ใบอนุญาตที่ต้องให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอ ณ สำนักงาน (Walk-in) ให้พัฒนาให้สามารถยื่นคำขอผ่านระบบ Online ทั้งผ่านระบบ NSW หรือผ่าน Portal เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการให้สามารถใช้บริการได้แบบหลายช่องทาง (Omni-channel)

– เห็นชอบแนวทางการพัฒนาระบบ NSW ให้เป็นระบบการให้บริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Fully digital) ปี 2564 – 2565 เช่น การพัฒนา Single Form การพัฒนาระบบ e-Phyto Certificates ภายในอาเซียน การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล การเชื่อมโยงใบอนุญาต/ใบรับรองตามรายการพิกัดศุลกากร เป็นต้น

ทั้งนี้ ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบทั้งของหน่วยงานรัฐ อาเซียนและประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งต้องพัฒนาแนวทางการมอบอำนาจ ระบบการยืนยันตัวตนและการชำระเงินออนไลน์ด้วย

2. แนวทางการพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกทางการค้าของประเทศผ่านระบบ NSW

– คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน และโลจิสติกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อปรับปรุงกรอบแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก การแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อมูลรายการสินค้าควบคุม ทั้งนี้ คาดว่าจะประกาศใช้ภายในเดือนกรกฎาคม 2564

3. แนวทางการพัฒนาพิกัดศุลกากรในสินค้าควบคุม
มีผู้ประกอบการไม่ได้รับความสะดวกเกี่ยวกับการขออนุมัติ/อนุญาต เนื่องจากหน่วยงานไม่ได้แจ้งหรือแจ้งพิกัดศุลกากรไม่ครบถ้วน ทำให้ผู้ประกอบการไม่ทราบและยื่นเอกสารไม่ครบ จนทำให้ถูกปรับ/ริบสินค้า จึงควรมีแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

– ถ่ายโอนภารกิจไปให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบในการตรวจสอบการนำเข้า-ส่งออก หรือถ่ายโอนอำนาจให้หน่วยงานหลักเป็นผู้ควบคุมกำกับการอนุญาตเพียงหน่วยงานเดียว
– กำหนดแนวทางให้สามารถผ่อนผันการส่งออกได้ กรณีที่ยังไม่ได้แจ้งพิกัดสินค้าในระบบสารสนเทศ อันเป็นผลจากความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ถูกต้องของหน่วยงาน

ทั้งนี้ ในการพิจารณาว่าพิกัดศุลกากรใดเหมาะสมที่จะถ่ายโอนภารกิจหรือถ่ายโอนอำนาจนั้น ให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาว่ามีจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำแต่ละด่านเพียงพอที่จะปฏิบัติงานหรือไม่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า