สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development, OECD) จัดสัมภาษณ์เชิงลึก (Peer - to - Peer Review) โครงการรายงานการวิเคราะห์สภาวการณ์การบริหารงานภาครัฐแบบองค์รวม

แชร์หน้านี้

         
          เมื่อวันที่ 1 - 5 เมษายน 2562 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development, OECD) จัดสัมภาษณ์เชิงลึก (Peer - to - Peer Review) โครงการรายงานการวิเคราะห์สภาวการณ์การบริหารงานภาครัฐแบบองค์รวม Supporting Open and Connected Governance and Stakeholder Engagement (Government at a Glance: Thailand) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และ OECD ณ ห้องประชุมฝ่ายบริหาร ชั้น ๕ สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมีนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนางวิภาดา ตริตระการ ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมการบริหารภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญจาก OECD กรีซ และ สหราชอาณาจักร จำนวน 7 คน ได้แก่

         • Mr. Alessandro Bellantoni, Deputy Head of Division & Head of the OECD Open Government Unit, Directorate for Public Governance, OECD

         • Ms. Barbara Ubaldi, Acting Head of Division & Head of Digital Government and Open Data, Directorate for Public Governance, OECD

         • Ms. Hille Hinsberg, Policy Analyst, Directorate for Public Governance, OECD

         • Mr. Arturo Rivera, Policy Analyst, Directorate for Public Governance, OECD

         • Mr. Johannes Klein, Consultant, Directorate for Public Governance, OECD

         • Ms. Nancy Routzouni, Digital and Open Government Policy Adviser, Hellenic Ministry of Administrative Reform, Government of Greece

         • Ms. Liz Wei Low, Senior Programme Analyst, Cabinet Office - Government Digital Service, Government of the United Kingdom

         ทั้งนี้ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่มีภารกิจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาวการณ์การบริหารงานภาครัฐแบบองค์รวมเข้าร่วมกว่า 27 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นต้น การสัมภาษณ์เชิงลึกดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์สภาวการณ์การบริหารงานภาครัฐแบบองค์รวม ทบทวนสภาพปัจจุบันของระบบราชการ วิเคราะห์กระบวนงานหลัก และการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบราชการไร้รอยต่อ เปิดกว้างและเชื่อมโยงกับทุกฝ่าย (Open and Connected Government) สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึกจัดประเด็นพูดคุยอย่างน่าสนใจ โดย
          - วันแรก มีเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องของการกำกับดูแลรัฐบาลดิจิทัล แนวทางการดำเนินการของภาครัฐ

          - วันที่สอง ครอบคลุมเกี่ยวกับการเป็นรัฐบาลแบบเปิดและความเท่าเทียมทั่วถึง

          - วันที่สาม พบปะพูดคุยกับภาคประชาสัมคม นักวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

         - วันที่สี่ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยเฉพาะในแง่ของการเสริมสร้างศักยภาพของข้าราชการ รวมทั้งกฎระเบียบที่รองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

          - วันสุดท้าย การส่งเสริมนวัตกรรมภาครัฐที่มุ่งเน้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัล 


กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ