งานประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในระดับทวิภาคีกับเครือข่ายธรรมาภิบาลอาเซียนและอาเซียน +9 (Peer to Peer Technical Meeting) เรื่อง ASEAN Conference: Towards a Citizen-Centric Civil Service

แชร์หน้านี้


         สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development, OECD) OECD Korea Policy Centre และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในระดับทวิภาคีกับเครือข่ายธรรมาภิบาลอาเซียนและอาเซียน +9 (Peer to Peer Technical Meeting) เรื่อง ASEAN Conference: Towards a Citizen-Centric Civil Service

         ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในฐานะที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนปี 2562 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้ของสำนักงาน ก.พ.ร โดยในครั้งแรกได้มีการจัดการประชุมนานาชาติ 2019 International Reform Policy Symposium and Regional Workshop ภายใต้หัวข้อ การยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐในภูมิภาคอาเซียน ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2562 ณ บาหลี อินโดนีเซีย

         งาน ASEAN Conference: Towards a Citizen-Centric Civil Service 2019 International Reform Policy Symposium and Regional Workshop จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 3 เมษายน 2562 ณ โรงแรมอนันตรา สาทร กรุงเทพมหานคร

         วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ การบริหารจัดการสาธารณะที่มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางและยกระดับการจัดให้บริการสาธารณะเพื่อชีวิตที่ดีของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน

         ทั้งนี้ การจัดประชุมอยู่ภายใต้หลักการ “Green Meeting: Reduce, Reuse, Recycle” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด อาทิ กระติกน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ฉากหลังสำหรับถ่ายภาพ รวมถึงกล่องกระดาษสำหรับคืนป้ายชื่อคล้องคอ เป็นต้น

         เลขาธิการ ก.พ.ร. (นายปกรณ์ นิลประพันธ์) ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการออกแบบและกำหนดแนวทางสำหรับรัฐบาลดิจิทัลเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นแนวคิดริเริ่มและการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น รวมถึงวิธีการใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลนอกจากจะช่วยเปิดโอกาสให้ภาครัฐใกล้ชิดประชาชน สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น ยังส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน”

         พร้อมกันนี้ ได้รับเกียรติจาก Mr. Han-Kyung Yi, Director General, OECD KPC และ Edwin Lau, Head of Division, Budgeting and Public Expenditures Division OECD และผู้แทนระดับอาวุโสจากประเทศสมาชิกอาเซียน และอาเซียน +9 และผู้เชี่ยวชาญ นวัตกรจากนานาประเทศ และผู้เข้าร่วมจากประเทศไทยกว่า 150 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารจัดการสาธารณะที่มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง การยกระดับรัฐบาลดิจิทัล และนวัตกรรมภาครัฐ พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบราชการไร้รอยต่อ เปิดกว้างและเชื่อมโยงกับทุกฝ่าย และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

         ประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่

         • ในยุคปัจจุบันภาครัฐต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว มุ่งเน้นส่งเสริมนวัตกรรมภาครัฐเพื่อให้สามารถกำหนดภารกิจที่สามารถตอบโจทย์ตามความต้องการของประชาชน โดย OECD ได้นำเสนอโมเดลนวัตกรรม (Innovation Facets Model) ที่ครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ (1) mission-oriented (2) anticipatory (3) adaptive และ (4) enhancement-oriented  

         • หลายประเทศมีการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐเพื่อให้เกิดนวัตกรรมในการบริหารงานภาครัฐ โดยนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น อินโดนีเซียนำ big data มาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยตัดสินใจในการออกนโยบาย โครงการที่เห็นได้ชัด คือ การมี open platform เพื่อใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประเทศเกาหลีมีการปรับนวัตกรรมในด้านนโยบายให้เป็นแบบ Bottom-up โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของประชาชน และการร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐแบบบูรณาการ (inter-ministrial collaboration)

         • สิงคโปร์ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่อง citizen-centric civil services  โดยมีการจัดตั้ง Ministry Family Transformation and Digitalization Plan ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลประชาชนโดยตรง เป็นการพัฒนา app ขึ้นมาที่เรียกว่า Moment of Life ดูแลเตรียมการคลอด การเดินทางไปโรงพยาบาล ก่อนคลอด 10 วัน หลังคลอด 10 วัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 15 หน่วยงาน มีวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาคนในประเทศด้วยการนำแนวคิด digital to core ร่วมกับ Serve with heart 

         • การบริหารบุคลากรในภาครัฐในปัจจุบันมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น Digital Disruptive, climate change หรือแม้กระทั่งบุคคลกรภาครัฐที่มีจำนวนผู้หญิงมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันอินโดนีเชีย ได้มีการนำระบบ CAT (Computer Asseted Test) เข้ามาใช้กับบุคลากรด้วย

         • สิ่งสำคัญที่สุดของ civil service ยุคใหม่คือ dynamic, response และ openness ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Innovation

         • Citizen centric government นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมออกแบบระบบทั้งกระบวนงาน เพื่อให้งานบริการภาครัฐตอบสนองความต้องการของประชาชน 

         • การจะผลักดันรัฐไปสู่ Digital and open government จะต้องเตรียมความพร้อมอย่างดี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะความพร้อมด้าน Skill ภาครัฐส่วนมากมีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคนในระดับต่ำ ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นได้ยากและไม่มีประสิทธิภาพ

         • การมีข้อมูลและตัวชี้วัด (Indicator) จะช่วยให้ภาครัฐประเมินผลตนเอง หาข้อผิดพลาด จุดบกพร่องเพื่ออุดรูรั่ว และช่วยให้โฟกัสที่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น และแต่ละประเทศมีพื้นฐานทางวัฒนธรรม ความคิด ข้อจำกัดและทรัพยากรที่ต่างกัน

         ดังนั้นวิธีการที่ประสบความสำเร็จในประเทศหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลในอีกประเทศ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้แนวทางที่หลากหลายในรูปแบบต่าง ๆ และนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละประเทศ



กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ