การขยายผลการนำ Digital ID สำหรับนิติบุลคลมาใช้ในงานบริการภาครัฐรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

แชร์หน้านี้


        เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. นำโดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นำโดย นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) นำโดย นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ ผู้จัดการใหญ่ NDID ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับการขยายผลการนำ Digital ID สำหรับนิติบุลคลมาใช้ในงานบริการภาครัฐรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนงานบริการ Agenda สำคัญ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2564 ในประเด็นการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่นอกเหนือจากระบบที่กรมการปกครองได้ดำเนินการ โดยเป็นการเพิ่มช่องอื่นเพื่อสนับสนุนการพิสูจน์และ
ยืนยันตัวตน เพื่อการอำนวยความสะดวกกับให้แก่นิติบุคคลและผู้ประกอบการได้มากยิ่งขึ้น

        ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 DBD ได้เตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินการขยายผลดังกล่าว โดยการทบทวน ปรับแก้ข้อกฎหมาย เงื่อนไขที่ยังเป็นอุปสรรค ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาครัฐ รวมทั้งจะเลือกหน่วยงานนำร่องมาทดลองใช้งานก่อน (sandbox) เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนาการนำ Digital ID สำหรับนิติบุลคลไปใช้ในงาน e-Service ให้ชัดเจนขึ้นต่อไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

        สำหรับ NDID จะเป็นหน่วยผูกนิติสัมพันธ์ โดยได้แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ซึ่งในระยะแรก จะเชื่อมต่อข้อมูลกับ DBD เพื่อขอหนังสือรับรอง และให้ e-Registration ใช้ช่องทาง e-KYC ของ NDID ในการยืนยันตัวตน ระยะที่ 2 ออกแบบระบบ ทดลองใช้งานกับหน่วยนำร่อง (sandbox) และระยะสุดท้าย นำผลจาก sandbox มาดำเนินการร่วมกับ DBD ตามแผนงานที่ได้รับงบประมาณ

        นอกจากนี้ ผู้แทนจากสมาคมธนาคารไทย ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมี Framework ภาพรวมที่ครอบคลุมทั้งการลงนามที่ผูกกับกรรมการและการลงนามที่ผูกกับตัวบริษัท และการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง ควรให้มีความยืดหยุ่น ไม่เฉพาะเจาะจงมากเกินไป

        ทั้งนี้ ทางสำนักงาน ก.พ.ร. จะได้สรุปผลการประชุม เพื่อนำไปจัดทำแผนการขับเคลื่อนการการดำเนินงานร่วมกันตามที่ได้หารือต่อไป